วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2554

ธงชาติและเพลงชาติ

            ประเทศหรือที่เรียกกันว่า ชาติ ”   หมายถึง  แผ่นดิน  อาณาเขต  และประชากรที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินนั้น  อันเป็นศูนย์รวมแห่งความรัก  ความสามัคคี  ความเสียสละ  ความกล้าหาญ   และการมีผลประโยชน์ร่วมกัน  อันมีเอกลักษณ์ และวัฒนธรรมประจำชาติเป็นของตัวเอง

ความหมายและความสำคัญของธงชาติไทย
                ธงชาติเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงวามเป็นชาติของประเทศหรือชาติต่าง ๆ ที่ยอมรับกันโดยทั่วไป  ซึ่งแต่ละประเทศ  ธงชาติจะมีสีที่แตกต่างกันและคล้ายคลึงกันบ้าง
                ( พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน  นิยามคำว่า  ธงชาติ  ไว้ว่า  ธงชาติ  น.  ธงที่ความหมายถึงประเทศและธงชาติใดชาติหนึ่ง

ธงไตรรงค์  ธำรงไทย
            ธงชาติไทยหรือธงไตรรงค์เป็นสัญลักษณะของประเทศไทยหรือชาติไทยที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ และศักดิ์ศรีในความเป็นไทย  ซึ่งมีความหมายแสดงความเป็นเอกราชอธิปไตยของชาติ  รวมทั้งสถาบันชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์  ธงชาติจึงมีความศักดิ์สิทธิ์ต้องได้รับความเคารพอย่างสูง  และยังมีความสำคัญทางจิตใจที่แสดงถึงความรักชาติ  ความรู้สึกที่มีร่วมกันของคนในชาติ  นอกจากนั้นยังเป็นเสมือนสิ่งศักดิ์สิทธ์ที่ไม่อาจลบหลู่และสามารถเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชาติ  เพื่อจะได้ดำรงไว้ซึ่งความเป็นปึกแผ่นของประเทศไทยให้ยั่งยือตลอดไปชั่วกาลนาน

ธงที่มีความหมายถึงประเทศไทยและชาติไทย
              ๑. ธงชาติไทย  มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  กว้าง  ๖  ส่วน   ยาง  ๙  ส่วน  ด้านกว้างแบ่งเป็น  ๕   แถบ  ตลอดความยาวของผืนธง   ตรงกลางเป็นแถบสีน้ำเงินแก่   กว้าง   ๒    ส่วน  ต่อจากแถบสีน้ำเงินแก่ออกไปทั้งสองข้างเป็นแถบสีขาว  กว้างข้างละ  ๑  ส่วน  ต่อจากแถบสีขาวออกไปทั้งสองข้างเป็นแถบสีแดง  กว้างข้างละ   ๑   ส่วน  ธงชาตินี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  ธงไตรรงค์
              ๒. ธงราชนาวี  มีลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ  แต่ตรงกลางของผืนธงมีดวงกลมสีแดงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางยาว  ๕  ใน ๖  ของความกว้างของผืนธง  โดยให้ขอบของดวงกลมจดขอบแถบสีแดงของผืนธง  ภายวงกลมมีช้างเผือกทรงยืนแท่นหันหน้าเข้าหาเสาธงหรือคันธง

ความหมายของสีธงชาติไทย
            พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  ๖   ทรงกำหนดความหมายของสีธงชาติไว้  ดังนี้
                        สีแดง              หมายถึง           ชาติ  คือประชาชน
                        สีขาว              หมายถึง           ศาสนา ( มิได้เน้นศาสนาใดโดยเฉพาะ )
                        สีน้ำเงิน           หมายถึง           พระมหากษัตริย์

เพลงชาติไทย

                ประวัติเนื้อเพลงชาติไทย พุทธศักราช ๒๔๘๒ รัฐบาลเปลี่ยนชื่อประเทศจาก "สยาม" มาเป็นประเทศไทย ทำให้เกิดการแก้ไขบทร้องเพลงชาติใหม่ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งโดยประกาศให้ยื่นประกวดเนื้อเพลงที่แต่งให้เข้ากับทำนองเพลงชาติเดิมการประกวดครั้งนี้มีผู้ส่งบทเนื้อร้องเข้าร่วมด้วยเป็นจำนวนมาก ในที่สุดคณะกรรมการได้คัดเลือกบทเนื้อร้องของหลวงสารานุประพันธ์เสนอให้คณะรัฐมนตรีวินิจฉัย ที่ประชุมปรึกษาพิจารณาแล้วลงมติรับบทเพลงนั้น โดยแก้ไขไปบ้างตามความเหมาะสม วันที่ ๑๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๒ รัฐบาลจึงได้ประกาศ "รัฐนิยมฉบับที่ ๖" ให้ใช้ทำนองเพลงชาติของพระเจนดุริยางค์ตามแบบที่มีอยู่ในกรมศิลปกรส่วนเนื้อร้องเพลงชาติให้ใช้บทเพลงของหลวงสารานุประพันธ์ ซึ่งประพันธ์ขึ้นในนามของกองทัพบก ดังที่เราได้ยินได้ฟังกันอยู่ในทุกวัน

เนื้อเพลง
                                ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย          เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน
                อยู่ดำรงค งไว้ได้ทั้งมวล                                                    ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี
                ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด                                       เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
                สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี                                         เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย


อาหารการกิน (ของหวาน)


ประวัติขนมไทยและความสำคัญ

              ขนมไทยนั้นเกิดขึ้นมานานแล้วตั้งแต่ประเทศไทยยังเป็นสยามประเทศได้ติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ เช่น จีน อินเดีย มาตั้งแต่สมัยสุโขทัยโดยส่งเสริมการขายสินค้าซึ่งกันและกัน ตลอดจนแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้าน อาหารการกินร่วมไปด้วย
                ต่อมาในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง ไทยได้รับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่าง ๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น วัตถุดิบที่หาได้ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนการบริโภคนิสัยแบบไทย ๆ จนทำให้คนรุ่นหลัง ๆ แยกไม่ออกว่าอะไรคือขนมที่เป็นไทยแท้ ๆ และอะไรดัดแปลงมาจากวัฒนธรรมของชาติอื่น เช่น ขนมที่ใช้ไข่ และขนมที่ต้องเข้าเตาอบ ซึ่งเข้ามา ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากคุณท้าวทองกีบม้าภรรยาเชื้อชาติญี่ปุ่น สัญชาติโปรตุเกส ของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ผู้เป็นกงศุลประจำ      
                ประเทศไทยในสมัยนั้น ไทยมิใช่เพียงรับทองหยิบ ทองหยอด และฝอยทองมาเท่านั้น หากยังให้ความสำคัญกับขนมเหล่านี้โดยใช้เป็นขนมมงคลอีกด้วย ส่วนใหญ่ตำรับขนม ที่ใส่มักเป็น "ของเทศ" เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ทองหยอดจากโปรตุเกส
                ขนมไทยเป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยอย่างหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดี เพราะเป็นสิ่งที่แสดงให้ เห็นถึงความละเอียดอ่อนประณีตในการทำ ตั้งแต่วัตถุดิบ วิธีการทำ ที่กลมกลืน พิถีพิถัน ในเรื่องรสชาติ สีสัน ความสวยงาม กลิ่นหอม รูปลักษณะชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทาน ขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตก ต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้น ๆ ขนมไทยที่นิยมทำกันทุก ๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่าง ๆ เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนม จากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้น

เทคนิคในการทำขนมไทย
                การทำขนมหวานไทยให้ดี ต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง คือ ต้องมีใจรัก ชอบทำมีความอดทนตั้งใจ มีความพิถีพิถันในการประดิษฐ์ให้ขนมมีรูปร่างที่น่ารับประทาน ขนมหวานไทยบางชนิดต้องฝึกทำหลาย ๆ ครั้ง จึงจะได้ลักษณะที่ดี ประสบการณ์ และความชำนาญในการทำบ่อย ๆ ผู้ประกอบขนมหวานไทย จะประสบความ สำเร็จในการทำ การทำขนมหวานไทยของคนรุ่นก่อนๆ จะใช้การกะส่วนผสมจากความเคยชินที่ทำบ่อย ๆ สัดส่วน ของขนมจะไม่แน่นอน และยังเป็นการถ่ายทอดความรู้ให้กันเฉพาะภายในครอบครัวเท่านั้น แต่ในปัจจุบันขนม หวานไทยได้วิวัฒนาการให้ทัดเทียมกับขนมนานาชาติ มีสูตรที่แน่นอน มีสัดส่วนของส่วนผสม และวิธีทำที่ บอกไว้อย่างชัดเจน ผู้ประกอบขนมหวานไทยเป็นที่จะต้องใช้อุปกรณ์ที่เป็นมาตรฐานในการชั่ง ตวง มีถ้วยตวง ช้อนตวง ใช้ภาชนะให้ถูกต้องกับชนิดของอาหาร เช่น การกวนจะใช้กระทะทองดีกว่าหม้อ หรือกระทะเหล็ก การทอดใช้กระทะเหล็กดีกว่ากระทะทอง ทำตามตำรับวิธีทำขั้นตอน อุณหภูมิที่ใช้ในการทำ ตลอดจนเลือกเครื่อง ปรุงที่ใหม่ ฉะนั้นการทำขนมหวานไทย ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้คือ
       1. อุปกรณ์ในการทำขนม
       2. เครื่องปรุงต่าง ๆ
       3. เวลา
       4. สูตร เครื่องปรุง และวิธีการทำขนม
       5. ชนิดของขนม
       6. วิธีการจัดขนม
   

ประเภทของขนมไทย


ขนมจากไข่ เช่น สังขยา ทองเอก ทองหยิบ ทองหยอด

ขนมต้มในน้ำกะทิ เช่น ฟักทองแกงบวด ถั่วดำแกงบวด

ขนมต้ม เช่น ขนมต้นแดง ขนมต้มขาว ถั่วแปบ มันต้มน้ำตาล

ขนมอบ เช่น ขนมดอกลำดวน ขนมหน้านวล ขนมโสมนัส

ขนมทอด เช่น ขนมกง ขนมรังนก ข้าวเม่าทอด ขนมใข่นกกระทา

ขนมผิง เช่น ขนมบ้าบิ่น ขนมผิง ขนมหม้อแกง ขนมสาลี่กรอบ

ขนมปิ้ง เช่น  ข้าวเหนียวปิ้ง  ขนมจาก
ขนมกวน เช่น ถั่วกวน เผือกกวน กระยาสารท เปียกปูน ข้าวเหนียวแดง กะละแม



ขนมเชื่อม เช่น กล้วยเชื่อม ฟักทองเชื่อม สาเกเชื่อม มันเชื่อม
ขนมน้ำกะทิ เช่น ลอดช่องน้ำกระทิ ข้าวเหนียวน้ำกระทิ เผือกน้ำกะทิ

ขนมแช่อิ่ม เช่น มะม่วงแช่อิ่ม มะขามแช่อิ่ม มะดันแช่อิ่ม


























อาหารการกิน (ของคาว)


ประวัติอาหารไทย
                อาหารไทยเป็นอาหารที่ประกอบด้วยรสเข้มข้นมีเครื่องปรุงหลายอย่างรสชาติอาหารแต่ละอย่างมีรสเฉพาะตัว การใช้เครื่องปรุงรสต่าง ๆ ก็ไม่เหมือนกัน ผู้ประกอบอาหารไทยต้องศึกษาจาก
                ตำราอาหารไทย และผู้เชี่ยวชาญ การทำอาหารไทยให้อร่อยต้องใช้ความชำนาญและประสบการณ์ ลอดจนกรรมวิธีในการประกอบอาหารไทยผู้ทำจะต้องพิถีพิถันประณีตมีขั้นตอนเพื่อให้อาหารน่ารับประทาน
                โดยส่วนใหญ่อาหารไทยจะมีวิธีการประกอบอย่างง่ายๆและใช้เวลาในการทำไม่มากนักโดยเฉพาะทุกครัวเรือน ของคนไทยจะมีส่วนประกอบอาหารติดอยู่ทุกครัวเรือน ไม่ว่าจะเป็นพริก แห้ง กุ้งแห้ง น้ำปลา กะปิ ส้มมะขาม กระเทียม หัวหอม ตลอดจนปลาบ้าง รวมทั้งส่วนประกอบอาหาร จำพวกผัก และเนื้อสัตว์นานาชนิด เพราะมีวิธีนำมาประกอบที่มีด้วยกันหลายรูปแบบไม่ ว่าจะเป็น แกง ต้ม ผัด ยำ อีกทั้งได้รับอิทธิพลในการปรุงอาหารรวมทั้งรูปแบบในการรับประทานอาหารตั้งแต่อดีต อาทิ การนเครื่องเทศมาใช้ในการประกอบอาหารก็ได้รับอิทธิพลมาจากเปอร์เชียผ่านอินเดีย อาหารจำพวกผัดก็ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีนเป็นต้น


ประเภทของอาหาร
                การตำ หมายถึง การนำอาหารอย่างหนึ่งอย่างใด หรือหลายๆ อย่างมารวมกัน

                การยำ หมายถึง การนำผักต่างๆ เนื้อสัตว์และน้ำปรุงรสมาเคล้าเข้าด้วยกันจนรสซึมซาบเสมอกันยำของไทยมีรสหลักอยู่ 3 รส คือ เปรี้ยว เค็ม หวานสำหรับน้ำปรุงรสจะราดก่อนเวลารับประทานเล็กน้อยทั้งนี้เพื่อให้ยำมีรสชาติดี

                การแกง หมายถึง อาหารน้ำ ซึ่งใช้เครื่องปรุงโขลกละเอียด นำมาละลายกับน้ำ หรือน้ำกะทิให้เป็นน้ำแกง มีเนื้อสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งผสมกับผักด้วยแกงส้ม แกงเผ็ด แกงคั่ว
                การหลน หมายถึง การทำอาหารให้สุกด้วยการใช้กะทิข้นๆ มี 3 รส เปรี้ยว เค็ม หวานลักษณะน้ำน้อย ข้น รับประทานกับผักสด เพราะเป็นอาหารประเภทเครื่องจิ้ม   หลนเต้าเจี้ยว หลนปลาร้า หลนเต้าหู้ยี้
                การปิ้ง หมายถึง การทำอาหารให้สุกโดยวางของสิ่งนั้นไว้เหนือไฟไม่สู้แรงนัก การปิ้งต้องปิ้งให้ผิวสุกเกรียมหรือกรอบ การปิ้งข้าวตัง การปิ้งกล้วย การปิ้งขนมหม้อแกง
                การย่าง หมายถึง การทำอาหารให้สุก โดยวางอาหารไว้เหนือไฟอ่อนๆหมั่นกลับไปกลับมาจนข้างในสุกและข้างนอกอ่อนนุ่มหรือแห้งกรอบต้องใช้เวลานานพอสมควรจึงจะได้อาหาร ที่มีลักษณะรสชาติด  การย่างปลา ย่างเนื้อสัตว์ต่างๆ
                การต้ม หมายถึง การนำอาหารที่ต้องการต้มใส่หม้อพร้อมกับน้ำตั้งไฟให้เดือดจนกว่าจะสุกใช้เวลาตามชนิดของอาหารนั้นๆ การต้มไข่ ต้มผัก ต้มเนื้อสัตว์