วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

มวยไทย

          มวยไทยเป็นการเล่นพื้นบ้าน ที่มีคุณลักษณะของการต่อสู้ป้องกันตัว ด้วยการใช้อวัยวะ
ในส่วนที่สามารถใช้ทำอันตรายคู่ต่อสู้ได้ มาใช้งานอย่างชาญฉลาด และมีศิลปอย่างสูง  เช่น  หมัด  ศอกแขน  เท้า  แข้ง  และเข่าเป็นต้น  นับเป็นศิลปะประจำชาติ และเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นประการหนึ่งของคนไทย  ได้มีการนำมาใช้ประโยชน์อย่างจริงจังในหมู่ทหาร เพราะในประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ต้องผจญกับศึกสงครามมาโดยตลอด  จึงต้องฝึกฝนไว้ให้เชี่ยวชาญเพื่อใช้ในการต่อสู้  มีการจัดตั้งสำนักมวยขึ้นฝึกสอนกันโดยทั่วไป
           ในสมัยกรุงศรีอยุธยา  มีผู้ที่ชื่อเสียงโด่งดังในเชิงมวยไทย จนเป็นที่เลื่องลือมาจนถึงปัจจุบันคือ นายขนมต้ม ที่สามารถใช้วิชามวยไทย เอาชนะศัตรูได้เป็นจำนวนมาก  แม้แต่พระมหากษัตริย์ของไทยบางพระองค์ในสมัยอยุธยาก็ทรงโปรดปราณ  และมีความสามารถในวิชามวยไทย เช่น พระเจ้าเสือหรือ ขุนหลวงสรศักดิ์
           ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ได้ทรงส่งเสริมวิชามวยไทยให้แพร่หลายยิ่งขึ้นโดยได้ทรงจัดให้มีการแข่งขันชกมวยไทยการกุศล  เพื่อเก็บรายได้ไปบำรุงกองเสือป่าขึ้นที่เวทีมวยโรงเรียนสวนกุหลาบ เมื่อ พ.ศ. 2463  สำหรับเวทีมวยไทยอื่นๆ ในครั้งนั้นก็มี  เวทีสวนเจ้าเชตุและเวทีหลักเมืองเป็นต้น
           การชกมวยไทย เป็นการชกด้วยหมัดเปล่าๆ ต่อมาเมื่อมีการแข่งขัน ก็ได้มีการคาดเชือกที่มือ และในระยะต่อมา จึงใช้สวมนวมแทนแบบมวยสากล       

เงินตราของไทย

         จากหลักฐานที่ค้นพบในบริเวณที่ตั้งของประเทศไทยปัจจุบัน มีเงินตราในยุคแรก ได้แก่เหรียญฟูนัน ทวาราวดี และศรีวิชัย ทางภาคเหนือมีเงินล้านนา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเงินล้านช้าง ดังนั้นเงินตราของไทยจึงมีความหลากหลายในรูปลักษณะ และมีที่มาที่น่าสนใจ แม้ว่าเงินตราดังกล่าว จะมีมา ก่อนที่จะตั้งประเทศไทย หรือรัฐไทยก็ได้รับอารยธรรมจากอินเดีย และจีนผสมผสานกัน แต่ก็ได้หล่อหลอมกันมา จนปรากฎเป็นเอกลักษณ์ที่ชัดเจน และยืนยงคง อยู่นานกว่าหกศตวรรษ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมาผ่านสมัยอยุธยา สืบต่อมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ เพิ่งมาเลิกใช้ในรัชสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๑ เงินตราดังกล่าวได้แก่ เงินพดด้วง
          หลังจากนั้น ประเทศไทยก็หันมาใช้เหรียญกษาปณ์แบบประเทศตะวันตก โดยได้มีการริเริ่มตั้งแต่รัชสมัย พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ยัง ไม่ทันได้ออกใช้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าให้สร้างโรงกษาปณ์เพื่อผลิต เหรียญกษาปณ์ออกใช้ ตั้งอยู่ที่หน้าพระคลังมหาสมบัติในพระบรม มหาราชวัง พระราชทานนามว่า โรงกษาปณ์สิทธิการเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.๒๔๐๓

          หลังจากเริ่มใช้เหรียญกษาปณ์ประมาณครึ่งศตวรรษ ความไม่พอเพียงต่อการใช้งาน เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการค้าทำให้รัฐบาลต้อง ออก ธนบัตรเงินตรากระดาษ ไปใช้ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๔๕ ทั้งเหรียญกษาปณ์และธนบัตรได้มีวิวัฒนาการมาตามลำดับจนถึงปัจจุบัน        

สยามเมืองยิ้ม


                ยิ้มสยาม  คือคำว่า ยิ้ม เชื่อมกับ คำว่า สยาม ให้เป็นศัพย์เดียวที่แปลความหมายได้ว่า การยิ้มของคนสยาม/ไทย ซึ่งเมื่อเผชิญปัญหาหรือเจออะไรก็ยิ้มไว้ก่อน
                สยามเมืองยิ้ม และ ยิ้มสยาม เป็นคำแทนความหมายที่ใช้ในการโปรโมตต์การท่องเที่ยวในลักษณะ “ทัวร์ลิตต์และ “เพรสทัวร์”  อาจรวมทั้ง “ทัวร์ซำเหมา” ซึ่งเริ่มปรากฏเป็นรูปธรรมหลังแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ใน สมัยรัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นต้นมา หรือหลังยุค ผู้ใหญ่ตีกลองประชุมเป็นต้นมา โดยผ่านสื่อกลางอย่าง อนุสาร อสท. ของ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การท่องเที่ยวที่เน้นลักษณะ “รอยยิ้ม” ที่ดูเป็นการทอดไมตรีการบริการเพื่อเอาใจลูกค้า ลูกทัวร์ ที่มาบริการ “ยิ้ม”  จึงไม่ใช่จำกัดเฉพาะคนสยามประเทศไทยเท่านั้น แต่มีลักษณะทั้งอุษาคเนย์ หรือทั่วโลกก็ว่าได้
                ยิ้มสยาม  ในที่นี้อาจจำกัดเฉพาะคนที่ยิ้มในสยามประเทศไทยเท่านั้น จึงจำแนกเอาเฉพาะรูปเก่าที่ชาวสยามถ่ายรูปเริ่มปรากฏรอยยิ้มในยุครัชกาลที่ 5 ตอนปลาย ที่นิยมถ่ายเฉพาะเจ้าขุนมูลนาย ขณะที่ ไพร่บ้านพลเมืองยังไม่เป็นที่นิยมเพราะยังมีความเชื่อเรื่อง “วิญญาณในรูปถ่ายหรือการ “ฝั่งรูปฝั่งรอย” ซึ่งเป็นความเชื่อดั่งเดิมของ “ศาสนาผี” ที่ฝั่งรากลึกก่อน พุทธ และพราหมณ์ จะเข้ามาสู่อุษาคเนย์
รอยยิ้มที่ริมแก้มที่ปรากฏในภายในหน้าชวนให้เสน่หา อาจสื่อความหมายที่งดงามในแง่ของบทเพลง อย่างเพลง อมยิ้ม ของ ชาย เมืองสิงห์ เมื่อราว พ.ศ. 2504-2509 และเพลง เที่ยวละไม ของ วงเฉลียง
ขณะที่ “ยิ้ม” อีกอย่างหนึ่ง อาจสื่อความหมายที่เชื้อเชิญทอดไมตรีชวนชม้ายชายตาจนบางครั้งก็พะว้าพะวังเพราะรอยยิ้ม นั่น
                สยามเมืองยิ้ม  ถูกใช้ในความหมายที่งดงามของรอยยิ้มผู้คนที่อาจไม่จำกัดเฉพาะผู้หญิงเท่านั้น อาจสื่อความหมายในลักษณะชาตินิยมที่ปรากฏในเพลง “สยามเมืองยิ้ม” ของ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ราชินีลูกทุ่งผู้ล่วงลับ ซึ่งแต่งโดย วิเชียร คำเจริญ หรือ ลพ บุรีรัตน์ ศิลปินแห่งชาติ เมื่อราวๆ พ.ศ. 2530 เพลงนี้ได้รับรางวัลในการงาน กึ่งศตวรรษลูกทุ่งไทย ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2534 ซึ่งจัดโดย สำนักงานคณะกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ
                ดูเหมือนคำว่า  ยิ้มสยาม  และ  สยามเมืองยิ้ม  จึงถูกใช้เป็นคำประชาสัมพันธ์ในการณรงค์การท่องเที่ยวอยู่หลายวาระไม่ว่าจะยุค ฐานทัพทหารสหรัฐอเมริกา หรือ ปีณรงค์การท่องเที่ยวไทย เมื่อ พ.ศ. 2530 ของ รัฐบาล พลตรี (ยศในขณะนั้น) ชาติชาย ชุณหะวัณ ดำเนินนโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า” พร้อมๆ กับ ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวโปร์โมตต์คำว่า “เวลคัม ทู ไทยแลนด์
                เวลคัม ทู ไทยแลนด์  กลายเป็นชื่อเพลงที่วงดนตรีเพื่อชีวิต วงคาราบาว นำมาล้อเลียนการท่องเที่ยวรัฐบาลในการท่องเที่ยวที่เน้นยิ้มสยาม” ในความหมายที่นักเที่ยวชาวต่างชาติที่รับรู้กลิ่นอายของฐานทัพสหรัฐอเมริกาเมื่อคราวยกพลขึ้นบกว่ายิ้มสยาม” คือนัยยะเสน่ห์แห่งราตรีอย่างหนึ่ง และหลังวิกฤติเศรษฐกิจ 2540 ก็ยังได้รับความนิยม จนถึง ปัจจุบัน
                ยิ้มสยาม  หรือ สยามเมืองยิ้ม  จึงเป็นความหมายที่สื่อทางกิริยาได้ทั้งด้านความหลากหลายของ  “รอยยิ้ม” ที่มีเป้าหมายของ “ผู้ยิ้ม” และ “ผู้ถูกส่งยิ้ม”   เพียงแต่สังคมที่หวั่นเกรงเรื่องศีลธรรมแบบ “ปากว่าตาขยิบ” ไม่สู้จะยอมรับความจริงในเรื่อง “เสน่ห์ของรอยยิ้มสยาม” เท่านั้นเอง

ศาสนาประจำชาติไทย (ศาสนาพุทธ)

         พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติไทยมาแต่โบราณ บรรดาศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี จริยธรรม และคุณธรรม อันหล่อหลอมรวมกันเป็นเอกลักษณ์ของไทย ล้วนมีรากฐานที่สำคัญมาจากพระพุทธศาสนา และเป็นมรดกตกทอดสืบมาถึงลูกหลานไทยในปัจจุบัน และจะสืบต่อไปในอนาคต
          พระพุทธศาสนานับว่าเป็นมรดกอันล้ำค่าคู่บ้าน คู่เมืองไทย เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางใจ ทำให้เกิดเอกภาพและความมั่นคงในชาติ สามารถดำรงคงความเป็นไทยอยู่ได้ด้วยดีตลอดมา มีความสุขสมบูรณ์โดยธรรม มีความเป็นมนุษย์อย่างพร้อมมูล อันเอื้อประโยชน์ต่อตนเองและต่อมนุษยชาติโดยทั่วหน้า

สัญลักษณ์ประจำชาติไทย

           ประเทศไทยมีสัญลักษณ์ประจำชาติอย่างเป็นทางการแล้ว เป็นรูปช้าง ดอกคูน และศาลาไทย ซึ่งคณะกรรมการเอกลักษณ์แห่งชาติได้นำเสนอสัญลักษณ์ทั้ง 3 นี้แก่คณะรัฐมนตรีแล้ว สาเหตุที่เลือกสัญลักษณ์ทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ 

          1. ช้างไทย เป็นสัตว์ประจำชาติ มีอายุยืน เป็นสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ประเพณี และเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตชาวไทยมานาน สมัยก่อนมีความหมายเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ใช้ในการศึกสงคราม ถือเป็นสัตว์คู่บุญบารมีของพระมหากษัตริย์ และครั้งหนึ่งช้างไทยเคยปรากฏอยู่บนธงชาติไทยด้วย   
           2. ต้นราชพฤกษ์ หรือ ต้นคูน เป็น ต้นไม้พื้นเมืองรู้จักกันแพร่หลาย มีทรวดทรงและพุ่มงาม มีดอกเหลืองอร่าม ถือเป็นต้นไม้ประจำชาติที่เรารับรู้กันมานาน แต่ไม่เคยได้รับการกำหนดให้เป็นต้นไม้ประจำชาติอย่างเป็นทางการ     
           3. ศาลาไทย เป็นสถาปัตยกรรมประจำ ชาติสะท้อนภูมิปัญญาของช่างไทย มีความสง่างามที่โดดเด่นจากชาติอื่น รวมทั้งเป็นการรักษาเอกลักษณ์ของชาติไทย และส่งเสริมให้ชาวต่างชาติได้ชื่นชมความงามของศาลาไทย  


   

             

วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554

ถนนสายแรกของไทย


               ถนนสายแรกในประเทศไทย คือ ถนนเจริญกรุง(New Road) สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ.2404 โดยต่อมามีการตัดถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่งนคร รวมทั้งถนนพระราม 4 และถนนสีสมในเขตชานพระนคร
              ถนนเจริญกรุงเริ่มตั้งแต่ถนนสนามไชยถึงแม่น้ำเจ้าพระยาที่ถนนตก กรุงเทพมหานคร เป็นถนนรุ่งแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างแบบตะวันตก ปัจจุบันผ่านพื้นที่เขตพระนคร เขตสัมพันธวงศ์ เขตบางรัก เขตสาทร และเขตบางคอแหลม
              เมื่อสร้างถนนเจริญกรุงเสร็จใหม่ ๆ นั้นยังไม่ได้พระราชทานนาม จึงเรียกกันทั่วไปว่า ถนนใหม่ ชาวยุโรปเรียกว่า นิวโรก(New Road)ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรกเกล้าฯพระราชทานนามถนนว่า "ถนนเจริญกรุง" ซึ่งมีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง    

วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2554

วันสำคัญ


วันสำคัญที่สำคัญจริงๆนะในเดือนมกราคม
วันที่ 1 มกราคม : วันขึ้นปีใหม่

วันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม : วันเด็กแห่งชาติ
วันที่ 16 มกราคม : วันครู

วันสำคัญที่สำคัญจริงๆนะในเดือนกุมภาพันธ์
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3  : วันมาฆบูชา
          
วันสำคัญที่สำคัญจริงๆนะในเดือนมีนาคม
วันที่ 8 มีนาคม : วันสตรีสากล

วันที่ 13 มีนาคม : วันช้างไทย


วันสำคัญที่สำคัญจริงๆนะในเดือนเมษายน
วันที่ 6 เมษายน : วันจักรี

วันที่ 13 14 15 เมษายน : วันสงกรานต์

วันที่ 13 เมษายน : วันผู้สูงอายุ
วันที่ 14 เมษายน : วันครอบครัว

วันสำคัญที่สำคัญจริงๆนะในเดือนพฤษภาคม
วันที่ 1 พฤษภาคม : วันแรงงานแห่งชาติ/วันกรรมกรสากล
วันที่ 5 พฤษภาคม : วันฉัตรมงคล

ข้างขึ้น เดือน 6  : วันพืชมงคล
ขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 : วันวิสาขบูชา

วันสำคัญที่สำคัญจริงๆนะในเดือนมิถุนายน
วันที่ 26 มิถุนายน : วันสุนทรภู่

วันสำคัญที่สำคัญจริงๆนะในเดือนกรกฎาคม
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 : วันอาสาฬหบูชา
แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 : วันเข้าพรรษา
วันที่ 29 กรกฎาคม : วันภาษาไทยแห่งชาติ


วันสำคัญที่สำคัญจริงๆนะในเดือนสิงหาคม
วันที่ 12 สิงหาคม : วันฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
วันที่ 12 สิงหาคม : วันแม่แห่งชาติ


วันสำคัญที่สำคัญจริงๆนะในเดือนกันยายน
วันที่ 20 กันยายน : วันเยาวชนแห่งชาติ

วันสำคัญที่สำคัญจริงๆนะในเดือนตุลาคม
แรม 15 ค่ำ เดือน 10 : วันสารทไทย
ขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 : วันออกพรรษา

วันที่ 14 ตุลาคม : วันประชาธิปไตย
วันที่ 23 ตุลาคม : วันปิยมหาราช

วันสำคัญที่สำคัญจริงๆนะในเดือนพฤศจิกายน
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 : วันลอยกระทง

วันสำคัญที่สำคัญจริงๆนะในเดือนธันวาคม
5 ธันวาคม : วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
5 ธันวาคม : วันพ่อแห่งชาติ
10 ธันวาคม : วันรัฐธรรมนูญ