ประวัติอาหารไทย
อาหารไทยเป็นอาหารที่ประกอบด้วยรสเข้มข้นมีเครื่องปรุงหลายอย่างรสชาติอาหารแต่ละอย่างมีรสเฉพาะตัว การใช้เครื่องปรุงรสต่าง ๆ ก็ไม่เหมือนกัน ผู้ประกอบอาหารไทยต้องศึกษาจาก
ตำราอาหารไทย และผู้เชี่ยวชาญ การทำอาหารไทยให้อร่อยต้องใช้ความชำนาญและประสบการณ์ ลอดจนกรรมวิธีในการประกอบอาหารไทยผู้ทำจะต้องพิถีพิถันประณีตมีขั้นตอนเพื่อให้อาหารน่ารับประทาน
โดยส่วนใหญ่อาหารไทยจะมีวิธีการประกอบอย่างง่ายๆและใช้เวลาในการทำไม่มากนักโดยเฉพาะทุกครัวเรือน ของคนไทยจะมีส่วนประกอบอาหารติดอยู่ทุกครัวเรือน ไม่ว่าจะเป็นพริก แห้ง กุ้งแห้ง น้ำปลา กะปิ ส้มมะขาม กระเทียม หัวหอม ตลอดจนปลาบ้าง รวมทั้งส่วนประกอบอาหาร จำพวกผัก และเนื้อสัตว์นานาชนิด เพราะมีวิธีนำมาประกอบที่มีด้วยกันหลายรูปแบบไม่ ว่าจะเป็น แกง ต้ม ผัด ยำ อีกทั้งได้รับอิทธิพลในการปรุงอาหารรวมทั้งรูปแบบในการรับประทานอาหารตั้งแต่อดีต อาทิ การนเครื่องเทศมาใช้ในการประกอบอาหารก็ได้รับอิทธิพลมาจากเปอร์เชียผ่านอินเดีย อาหารจำพวกผัดก็ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีนเป็นต้น
ประเภทของอาหาร
การตำ หมายถึง การนำอาหารอย่างหนึ่งอย่างใด หรือหลายๆ อย่างมารวมกัน
การยำ หมายถึง การนำผักต่างๆ เนื้อสัตว์และน้ำปรุงรสมาเคล้าเข้าด้วยกันจนรสซึมซาบเสมอกันยำของไทยมีรสหลักอยู่ 3 รส คือ เปรี้ยว เค็ม หวานสำหรับน้ำปรุงรสจะราดก่อนเวลารับประทานเล็กน้อยทั้งนี้เพื่อให้ยำมีรสชาติดี
การแกง หมายถึง อาหารน้ำ ซึ่งใช้เครื่องปรุงโขลกละเอียด นำมาละลายกับน้ำ หรือน้ำกะทิให้เป็นน้ำแกง มีเนื้อสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งผสมกับผักด้วยแกงส้ม แกงเผ็ด แกงคั่ว
การหลน หมายถึง การทำอาหารให้สุกด้วยการใช้กะทิข้นๆ มี 3 รส เปรี้ยว เค็ม หวานลักษณะน้ำน้อย ข้น รับประทานกับผักสด เพราะเป็นอาหารประเภทเครื่องจิ้ม หลนเต้าเจี้ยว หลนปลาร้า หลนเต้าหู้ยี้
การปิ้ง หมายถึง การทำอาหารให้สุกโดยวางของสิ่งนั้นไว้เหนือไฟไม่สู้แรงนัก การปิ้งต้องปิ้งให้ผิวสุกเกรียมหรือกรอบ การปิ้งข้าวตัง การปิ้งกล้วย การปิ้งขนมหม้อแกง
การย่าง หมายถึง การทำอาหารให้สุก โดยวางอาหารไว้เหนือไฟอ่อนๆหมั่นกลับไปกลับมาจนข้างในสุกและข้างนอกอ่อนนุ่มหรือแห้งกรอบต้องใช้เวลานานพอสมควรจึงจะได้อาหาร ที่มีลักษณะรสชาติด การย่างปลา ย่างเนื้อสัตว์ต่างๆ
การต้ม หมายถึง การนำอาหารที่ต้องการต้มใส่หม้อพร้อมกับน้ำตั้งไฟให้เดือดจนกว่าจะสุกใช้เวลาตามชนิดของอาหารนั้นๆ การต้มไข่ ต้มผัก ต้มเนื้อสัตว์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น