วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ธนาคารแห่งแรกในประเทศไทย

          ประวัติศาสตร์หน้าแรกของธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งนับเป็นสถาบันการเงินแห่งแรกของชาวสยามนั้น เริ่มต้นขึ้นในนาม "บุคคลัภย์" (Book Club) โดย พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ซึ่งขณะนั้นทรง ดำรงตำแหน่งเสนาบดี กระทรวง พระคลังมหาสมบัติในพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งพระทัยอย่างแน่วแน่ที่จะให้มีสถาบัน การเงินของสยาม เป็นฐานรองรับการเติบโตทางด้าน เศรษฐกิจการเงินของประเทศ จากการที่โลกตะวันตกได้ ขยายเส้นทางการค้าทางทะเลมาสู่ดินแดนสยามเป็นอย่างมาก ในยุคนั้น ในขั้นแรกจึงทรงริเริ่มดำเนินกิจการธนาคาร พาณิชย์เป็นการ ทดลองในนาม "บุคคลัภย์" (Book Club)
          ต่อมากิจการทดลองประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระบรม ราชานุญาตให้ตั้งเป็นธนาคารในนาม "บริษัท แบงก์สยาม กัมมาจล ทุนจำกัด" (Siam Commercial Bank, Limited) เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2449 ประกอบธุรกิจ ธนาคารพาณิชย์ อย่างเป็นทางการ นับตั้งแต่นั้นมาและได้ กลายมาเป็น "ต้นแบบธนาคารไทย" โดยริเริ่ม นำระบบ และ แนวคิดของการให้บริการ รับฝากเงินออมทรัพย์ และ บริการ บริการบัญชี กระแสรายวัน (Current Account) ถอนเงิน โดยใช้เช็คมาให้บริการ แก่ประชาชน พร้อมทั้งจัดตั้งสาขาขึ้น ทั้งในกรุงเทพฯ และภูมิภาคต่างๆ นอกจากนี้ธนาคารยังมี ส่วนร่วม ในการก่อกำเนิดและวางรากฐานสหกรณ์การเกษตร ของประเทศ







สุภาษิต สำนวน คำพงเพย

สำนวน  เป็นคำนาม มีหลายความหมาย คือ
          ๑.ถ้อยคำที่เรียบเรียงหรือโวหาร และมีเสียงสัมผัสกัน  บางทีก็ใช้ว่าสำนวนโวหาร เช่น สารคดีเรื่องนี้สำนวนโวหารดี ความเรียงเรื่องนี้สำนวนโวหารลุ่มๆดอนๆ เช่น ก่อร่าง สร้างตัว ขับไล่ไสส่งมีสัมผัสสระ
          ๒.ถ้อยคำหรือข้อความ ที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตัว มีลักษณะเป็นความเปรียบหรืออุปมาอุปไมยถึงสิ่งต่างๆ ดังนี้ อุปมา คือสิ่งหรือข้อความที่ยกมาเปรียบสิ่งหนึ่งว่าเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง มักจะมีคำว่า เหมือน เปรียบเหมือนดุจดัง ส่วนอุปไมย คือ สิ่งหรือข้อความที่เปรียบเทียบกับสิ่งอื่นเพื่อให้เข้าใจแจ่มแจ้งใช้คู่กับอุปมา เช่น ขาวเหมือนสำลี เป็นการกล่าวเปรียบเทียบลักษณะของความขาวของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
          ๓.ถ้อยคำที่แสดงออกมา มีลักษณะเป็นคำคม คือ ถ้อยคำที่เป็นคารม หรือโวหารอันคมคายเป็นคำพูดที่ให้แง่คิด มีความหมายลึกซึ้งกินใจ เช่น มีวิชาเหมือนมีทรัพย์อยู่นับแสน (สุนทรภู่) หรือเป็นถ้อยคำพิเศษเฉพาะภาษาหนึ่งๆ เช่นสำนวนฝรั่ง สำนวนบาลี
          ๔.มีลักษณะเป็นบุคลาธิษฐาน คือ สำนวนที่นำคำกริยาที่ใช้สำหรับมนุษย์ไปใช้กับสัตว์หรือสิ่งไม่มีชีวิต ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีอารมณ์กิริยา ความรู้สึกนึกคิดเหมือนคน เช่น น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า กระต่ายตื่นตูม วัวลืมตีน
          ๕.ชั้นเชิงหรือท่วงทำนองในการแต่งหนังสือหรือคำ พูด เช่นสำนวนเจ้าพระยาพระคลัง(หล)สำนวนยาขอบและลักษณนามใช้เรียกข้อความหรือบทประพันธ์รายหนึ่งๆ  เช่น  อิเหนามีหลายสำนวน บทความ ๒ สำนวน
ตัวอย่าง
กินปูนร้อนท้อง
          สำนวนนี้มาจากตุ๊กแก ว่ากันว่า ตุ๊กแกที่กินปูน (ปูนแดงที่กินกับหมากพลู )มักจะทำอาการกระวนกระวาย ส่งเสียงร้องแกร็กๆ เหมือนอาการร้อนท้องหรือปวดท้อง
จึงนำเอามาเปรียบกันคนที่ทำพิรุธหรือทำอะไรไว้ไม่อยากให้ใครรู้แต่เผอิญมีใครไปแคะได้ หรือเรียบเคียงเข้าหน่อยทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้เจตนาเจาะจงแต่ตัวเอง ก็แสดงอาการเป็นเชิงเดือดร้อนออกมาให้เขารู้ สำนวนนี้มักพูดกันว่า    ตุ๊กแกกินปูนร้อนท้อง  “.

กบในกะลาครอบ
         หมายถึงผู้มีความรู้และประสบการณ์น้อย เหมือนกบที่ถูกกะลาครอบไว้ แต่สำคัญตนว่ามีความรู้มาก เพราะมองเห็นเพียงกะลาแคบๆ ใกล้ตัว ขาดโลกทัศน์ที่กว้างไกล พอโผล่ออกมาพ้นกะลาจึงรู้ว่า ยังมีสิ่งต่างๆ อีกมากมายเหลือคณานับ ที่จะต้องเรียนรู้และศึกษาเพิ่มเติม จนทำตนให้กลายเป็น กบนอกกะลาให้จงได้


สุภาษิต
       เป็นคำนาม หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความ ที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านาน แต่มีเนื้อความหรือความหมายที่ดี เป็นคำตักเตือนสั่งสอน  และสะกิดใจให้ระลึกถึงอยู่เสมอ มีอยู่ 2 ประเภท คือ
           ๑.คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่าน เข้าใจเนื้อความได้ทันที คือเป็นข้อความสั้นๆ กินความลึกซึ้ง มีความหมายเป็นคติคำสอนหรือหลักความจริง โดยไม่ต้องแปลความหมาย ตีความหมาย เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
           ๒.คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่าน หรือฟังแล้วยังไม่เข้าใจเนื้อความนั้นในทันที ต้องนึกตรึกตรอง ต้องแปลความ ตีความหมายเสียก่อนจึงจะทราบเนื้อแท้ของคำเหล่านั้น เช่น ผีบ้านไม่ดีผีป่าก็พลอย
           ดังนั้นคำว่า สำนวนที่ใช้ในที่นี้จึงหมายถึงเฉพาะถ้อยคำที่มีความหมายไม่ตรงตัวอักษร มีความหมายเป็นเชิงเปรียบเทียบ มีท่านผู้รู้ท่านหนึ่งกล่าวว่า สำนวนเป็นคำพูดชนิดหนึ่งซึ่งไม่ได้วางหลักวิชาหรือให้คติอย่าไร เช่น หนังหน้าไฟ ,เกลือจิ้มเกลือ,บอดได้แว่น,เรื่อล่มเมื่อจอด,อาภัพเหมือนปูน
ตัวอย่าง
จับปลาสองมือ   
         หมายถึง ผู้ที่ไม่ตัดสินใจให้แน่นอนว่าควรจะทำสิ่งใด เห็นไปว่าสิ่งโน้นก็ดี สิ่งนี้ก็ดี เลยทำหมดทุกอย่าง ทำให้ต้องแบ่งความคิด เวลา และกำลังกาย สำหรับงานเหล่านั้น เป็นเหตุให้งานแต่ละอย่างไม่ได้รับผลดีเท่าที่ควรจะได้ ในที่สุดเขาจะทำงานไม่ได้ดีเลยแม้แต่สักอย่างเดียว

ดินพอกหางหมู 
          หมายถึง การทำสิ่งใดก็ตาม ถ้ามัวแต่ผัดวันประกันพรุ่ง เพราะความเกียจคร้าน ไม่ทำให้สำเร็จโดยเร็ว ปล่อยให้คั่งค้างทับถมมากเข้า งานจะเพิ่มพูนมากขึ้นทุกที ทำเท่าไรไม่มีเสร็จ หรือหมายถึง หนี้สินไปก่อขึ้นไว้ทีละเล็กละน้อยจนมากมาย ก็เรียกว่าเป็นดินพอกหางหมูเหมือนกัน



คำพังเพย
          เป็นคำนาน หมายถึง  ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นมาเป็นความหมายกลาง ๆ คือ ไม่เน้นการสั่งสอน แต่ก็แฝงคติเตือนใจหรือ ข้อคิดสะกิดใจให้นำไปปฏิบัติได้ และ เนื้อหาของใจความนั้นก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความดี หรือ ความจริงแท้แน่นอน  เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง มีความหมายลึกซึ้งกว่าสำนวน มีลักษณติชมหรือแสดงความเห็นในตัว แต่ยังไม่ได้วางหลักความจริงอันเที่ยงแท้ และยังไม่เป็นคำสอน เช่น กระต่ายตื่นตูม,ทำนาบนหลังคน ,ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น,เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย,น้ำถึงไหน ปลาถึงนั้น เป็นต้น

ตัวอย่าง
ปากปราศรัยใส (น้ำใจ) เชือดคอ
พูดดีแต่ปาก แต่ใจคิดร้าย

รู้อย่างเป็ด
ไม่ควรรู้อะไรหลาย ๆ อย่าง แต่ไม่รู้จริงสักอย่าง

ข้างนอกสุกใส ข้างในเป็นโพรง
ข้างนอกอาจจะดูดี มีค่า แต่ข้างในหรือตามความเป็นจริงแล้ว มิได้ดีตามที่เห็น

น้ำกลิ้งบนใบบอน
ใจโลเล ใจไม่แน่นอน เปลี่ยนไปอยู่เรื่อย ๆ

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

มวยไทย

          มวยไทยเป็นการเล่นพื้นบ้าน ที่มีคุณลักษณะของการต่อสู้ป้องกันตัว ด้วยการใช้อวัยวะ
ในส่วนที่สามารถใช้ทำอันตรายคู่ต่อสู้ได้ มาใช้งานอย่างชาญฉลาด และมีศิลปอย่างสูง  เช่น  หมัด  ศอกแขน  เท้า  แข้ง  และเข่าเป็นต้น  นับเป็นศิลปะประจำชาติ และเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นประการหนึ่งของคนไทย  ได้มีการนำมาใช้ประโยชน์อย่างจริงจังในหมู่ทหาร เพราะในประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ต้องผจญกับศึกสงครามมาโดยตลอด  จึงต้องฝึกฝนไว้ให้เชี่ยวชาญเพื่อใช้ในการต่อสู้  มีการจัดตั้งสำนักมวยขึ้นฝึกสอนกันโดยทั่วไป
           ในสมัยกรุงศรีอยุธยา  มีผู้ที่ชื่อเสียงโด่งดังในเชิงมวยไทย จนเป็นที่เลื่องลือมาจนถึงปัจจุบันคือ นายขนมต้ม ที่สามารถใช้วิชามวยไทย เอาชนะศัตรูได้เป็นจำนวนมาก  แม้แต่พระมหากษัตริย์ของไทยบางพระองค์ในสมัยอยุธยาก็ทรงโปรดปราณ  และมีความสามารถในวิชามวยไทย เช่น พระเจ้าเสือหรือ ขุนหลวงสรศักดิ์
           ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ได้ทรงส่งเสริมวิชามวยไทยให้แพร่หลายยิ่งขึ้นโดยได้ทรงจัดให้มีการแข่งขันชกมวยไทยการกุศล  เพื่อเก็บรายได้ไปบำรุงกองเสือป่าขึ้นที่เวทีมวยโรงเรียนสวนกุหลาบ เมื่อ พ.ศ. 2463  สำหรับเวทีมวยไทยอื่นๆ ในครั้งนั้นก็มี  เวทีสวนเจ้าเชตุและเวทีหลักเมืองเป็นต้น
           การชกมวยไทย เป็นการชกด้วยหมัดเปล่าๆ ต่อมาเมื่อมีการแข่งขัน ก็ได้มีการคาดเชือกที่มือ และในระยะต่อมา จึงใช้สวมนวมแทนแบบมวยสากล       

เงินตราของไทย

         จากหลักฐานที่ค้นพบในบริเวณที่ตั้งของประเทศไทยปัจจุบัน มีเงินตราในยุคแรก ได้แก่เหรียญฟูนัน ทวาราวดี และศรีวิชัย ทางภาคเหนือมีเงินล้านนา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเงินล้านช้าง ดังนั้นเงินตราของไทยจึงมีความหลากหลายในรูปลักษณะ และมีที่มาที่น่าสนใจ แม้ว่าเงินตราดังกล่าว จะมีมา ก่อนที่จะตั้งประเทศไทย หรือรัฐไทยก็ได้รับอารยธรรมจากอินเดีย และจีนผสมผสานกัน แต่ก็ได้หล่อหลอมกันมา จนปรากฎเป็นเอกลักษณ์ที่ชัดเจน และยืนยงคง อยู่นานกว่าหกศตวรรษ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมาผ่านสมัยอยุธยา สืบต่อมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ เพิ่งมาเลิกใช้ในรัชสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๑ เงินตราดังกล่าวได้แก่ เงินพดด้วง
          หลังจากนั้น ประเทศไทยก็หันมาใช้เหรียญกษาปณ์แบบประเทศตะวันตก โดยได้มีการริเริ่มตั้งแต่รัชสมัย พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ยัง ไม่ทันได้ออกใช้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าให้สร้างโรงกษาปณ์เพื่อผลิต เหรียญกษาปณ์ออกใช้ ตั้งอยู่ที่หน้าพระคลังมหาสมบัติในพระบรม มหาราชวัง พระราชทานนามว่า โรงกษาปณ์สิทธิการเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.๒๔๐๓

          หลังจากเริ่มใช้เหรียญกษาปณ์ประมาณครึ่งศตวรรษ ความไม่พอเพียงต่อการใช้งาน เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการค้าทำให้รัฐบาลต้อง ออก ธนบัตรเงินตรากระดาษ ไปใช้ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๔๕ ทั้งเหรียญกษาปณ์และธนบัตรได้มีวิวัฒนาการมาตามลำดับจนถึงปัจจุบัน        

สยามเมืองยิ้ม


                ยิ้มสยาม  คือคำว่า ยิ้ม เชื่อมกับ คำว่า สยาม ให้เป็นศัพย์เดียวที่แปลความหมายได้ว่า การยิ้มของคนสยาม/ไทย ซึ่งเมื่อเผชิญปัญหาหรือเจออะไรก็ยิ้มไว้ก่อน
                สยามเมืองยิ้ม และ ยิ้มสยาม เป็นคำแทนความหมายที่ใช้ในการโปรโมตต์การท่องเที่ยวในลักษณะ “ทัวร์ลิตต์และ “เพรสทัวร์”  อาจรวมทั้ง “ทัวร์ซำเหมา” ซึ่งเริ่มปรากฏเป็นรูปธรรมหลังแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ใน สมัยรัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นต้นมา หรือหลังยุค ผู้ใหญ่ตีกลองประชุมเป็นต้นมา โดยผ่านสื่อกลางอย่าง อนุสาร อสท. ของ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การท่องเที่ยวที่เน้นลักษณะ “รอยยิ้ม” ที่ดูเป็นการทอดไมตรีการบริการเพื่อเอาใจลูกค้า ลูกทัวร์ ที่มาบริการ “ยิ้ม”  จึงไม่ใช่จำกัดเฉพาะคนสยามประเทศไทยเท่านั้น แต่มีลักษณะทั้งอุษาคเนย์ หรือทั่วโลกก็ว่าได้
                ยิ้มสยาม  ในที่นี้อาจจำกัดเฉพาะคนที่ยิ้มในสยามประเทศไทยเท่านั้น จึงจำแนกเอาเฉพาะรูปเก่าที่ชาวสยามถ่ายรูปเริ่มปรากฏรอยยิ้มในยุครัชกาลที่ 5 ตอนปลาย ที่นิยมถ่ายเฉพาะเจ้าขุนมูลนาย ขณะที่ ไพร่บ้านพลเมืองยังไม่เป็นที่นิยมเพราะยังมีความเชื่อเรื่อง “วิญญาณในรูปถ่ายหรือการ “ฝั่งรูปฝั่งรอย” ซึ่งเป็นความเชื่อดั่งเดิมของ “ศาสนาผี” ที่ฝั่งรากลึกก่อน พุทธ และพราหมณ์ จะเข้ามาสู่อุษาคเนย์
รอยยิ้มที่ริมแก้มที่ปรากฏในภายในหน้าชวนให้เสน่หา อาจสื่อความหมายที่งดงามในแง่ของบทเพลง อย่างเพลง อมยิ้ม ของ ชาย เมืองสิงห์ เมื่อราว พ.ศ. 2504-2509 และเพลง เที่ยวละไม ของ วงเฉลียง
ขณะที่ “ยิ้ม” อีกอย่างหนึ่ง อาจสื่อความหมายที่เชื้อเชิญทอดไมตรีชวนชม้ายชายตาจนบางครั้งก็พะว้าพะวังเพราะรอยยิ้ม นั่น
                สยามเมืองยิ้ม  ถูกใช้ในความหมายที่งดงามของรอยยิ้มผู้คนที่อาจไม่จำกัดเฉพาะผู้หญิงเท่านั้น อาจสื่อความหมายในลักษณะชาตินิยมที่ปรากฏในเพลง “สยามเมืองยิ้ม” ของ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ราชินีลูกทุ่งผู้ล่วงลับ ซึ่งแต่งโดย วิเชียร คำเจริญ หรือ ลพ บุรีรัตน์ ศิลปินแห่งชาติ เมื่อราวๆ พ.ศ. 2530 เพลงนี้ได้รับรางวัลในการงาน กึ่งศตวรรษลูกทุ่งไทย ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2534 ซึ่งจัดโดย สำนักงานคณะกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ
                ดูเหมือนคำว่า  ยิ้มสยาม  และ  สยามเมืองยิ้ม  จึงถูกใช้เป็นคำประชาสัมพันธ์ในการณรงค์การท่องเที่ยวอยู่หลายวาระไม่ว่าจะยุค ฐานทัพทหารสหรัฐอเมริกา หรือ ปีณรงค์การท่องเที่ยวไทย เมื่อ พ.ศ. 2530 ของ รัฐบาล พลตรี (ยศในขณะนั้น) ชาติชาย ชุณหะวัณ ดำเนินนโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า” พร้อมๆ กับ ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวโปร์โมตต์คำว่า “เวลคัม ทู ไทยแลนด์
                เวลคัม ทู ไทยแลนด์  กลายเป็นชื่อเพลงที่วงดนตรีเพื่อชีวิต วงคาราบาว นำมาล้อเลียนการท่องเที่ยวรัฐบาลในการท่องเที่ยวที่เน้นยิ้มสยาม” ในความหมายที่นักเที่ยวชาวต่างชาติที่รับรู้กลิ่นอายของฐานทัพสหรัฐอเมริกาเมื่อคราวยกพลขึ้นบกว่ายิ้มสยาม” คือนัยยะเสน่ห์แห่งราตรีอย่างหนึ่ง และหลังวิกฤติเศรษฐกิจ 2540 ก็ยังได้รับความนิยม จนถึง ปัจจุบัน
                ยิ้มสยาม  หรือ สยามเมืองยิ้ม  จึงเป็นความหมายที่สื่อทางกิริยาได้ทั้งด้านความหลากหลายของ  “รอยยิ้ม” ที่มีเป้าหมายของ “ผู้ยิ้ม” และ “ผู้ถูกส่งยิ้ม”   เพียงแต่สังคมที่หวั่นเกรงเรื่องศีลธรรมแบบ “ปากว่าตาขยิบ” ไม่สู้จะยอมรับความจริงในเรื่อง “เสน่ห์ของรอยยิ้มสยาม” เท่านั้นเอง

ศาสนาประจำชาติไทย (ศาสนาพุทธ)

         พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติไทยมาแต่โบราณ บรรดาศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี จริยธรรม และคุณธรรม อันหล่อหลอมรวมกันเป็นเอกลักษณ์ของไทย ล้วนมีรากฐานที่สำคัญมาจากพระพุทธศาสนา และเป็นมรดกตกทอดสืบมาถึงลูกหลานไทยในปัจจุบัน และจะสืบต่อไปในอนาคต
          พระพุทธศาสนานับว่าเป็นมรดกอันล้ำค่าคู่บ้าน คู่เมืองไทย เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางใจ ทำให้เกิดเอกภาพและความมั่นคงในชาติ สามารถดำรงคงความเป็นไทยอยู่ได้ด้วยดีตลอดมา มีความสุขสมบูรณ์โดยธรรม มีความเป็นมนุษย์อย่างพร้อมมูล อันเอื้อประโยชน์ต่อตนเองและต่อมนุษยชาติโดยทั่วหน้า

สัญลักษณ์ประจำชาติไทย

           ประเทศไทยมีสัญลักษณ์ประจำชาติอย่างเป็นทางการแล้ว เป็นรูปช้าง ดอกคูน และศาลาไทย ซึ่งคณะกรรมการเอกลักษณ์แห่งชาติได้นำเสนอสัญลักษณ์ทั้ง 3 นี้แก่คณะรัฐมนตรีแล้ว สาเหตุที่เลือกสัญลักษณ์ทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ 

          1. ช้างไทย เป็นสัตว์ประจำชาติ มีอายุยืน เป็นสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ประเพณี และเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตชาวไทยมานาน สมัยก่อนมีความหมายเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ใช้ในการศึกสงคราม ถือเป็นสัตว์คู่บุญบารมีของพระมหากษัตริย์ และครั้งหนึ่งช้างไทยเคยปรากฏอยู่บนธงชาติไทยด้วย   
           2. ต้นราชพฤกษ์ หรือ ต้นคูน เป็น ต้นไม้พื้นเมืองรู้จักกันแพร่หลาย มีทรวดทรงและพุ่มงาม มีดอกเหลืองอร่าม ถือเป็นต้นไม้ประจำชาติที่เรารับรู้กันมานาน แต่ไม่เคยได้รับการกำหนดให้เป็นต้นไม้ประจำชาติอย่างเป็นทางการ     
           3. ศาลาไทย เป็นสถาปัตยกรรมประจำ ชาติสะท้อนภูมิปัญญาของช่างไทย มีความสง่างามที่โดดเด่นจากชาติอื่น รวมทั้งเป็นการรักษาเอกลักษณ์ของชาติไทย และส่งเสริมให้ชาวต่างชาติได้ชื่นชมความงามของศาลาไทย