วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ธนาคารแห่งแรกในประเทศไทย

          ประวัติศาสตร์หน้าแรกของธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งนับเป็นสถาบันการเงินแห่งแรกของชาวสยามนั้น เริ่มต้นขึ้นในนาม "บุคคลัภย์" (Book Club) โดย พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ซึ่งขณะนั้นทรง ดำรงตำแหน่งเสนาบดี กระทรวง พระคลังมหาสมบัติในพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งพระทัยอย่างแน่วแน่ที่จะให้มีสถาบัน การเงินของสยาม เป็นฐานรองรับการเติบโตทางด้าน เศรษฐกิจการเงินของประเทศ จากการที่โลกตะวันตกได้ ขยายเส้นทางการค้าทางทะเลมาสู่ดินแดนสยามเป็นอย่างมาก ในยุคนั้น ในขั้นแรกจึงทรงริเริ่มดำเนินกิจการธนาคาร พาณิชย์เป็นการ ทดลองในนาม "บุคคลัภย์" (Book Club)
          ต่อมากิจการทดลองประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระบรม ราชานุญาตให้ตั้งเป็นธนาคารในนาม "บริษัท แบงก์สยาม กัมมาจล ทุนจำกัด" (Siam Commercial Bank, Limited) เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2449 ประกอบธุรกิจ ธนาคารพาณิชย์ อย่างเป็นทางการ นับตั้งแต่นั้นมาและได้ กลายมาเป็น "ต้นแบบธนาคารไทย" โดยริเริ่ม นำระบบ และ แนวคิดของการให้บริการ รับฝากเงินออมทรัพย์ และ บริการ บริการบัญชี กระแสรายวัน (Current Account) ถอนเงิน โดยใช้เช็คมาให้บริการ แก่ประชาชน พร้อมทั้งจัดตั้งสาขาขึ้น ทั้งในกรุงเทพฯ และภูมิภาคต่างๆ นอกจากนี้ธนาคารยังมี ส่วนร่วม ในการก่อกำเนิดและวางรากฐานสหกรณ์การเกษตร ของประเทศ







สุภาษิต สำนวน คำพงเพย

สำนวน  เป็นคำนาม มีหลายความหมาย คือ
          ๑.ถ้อยคำที่เรียบเรียงหรือโวหาร และมีเสียงสัมผัสกัน  บางทีก็ใช้ว่าสำนวนโวหาร เช่น สารคดีเรื่องนี้สำนวนโวหารดี ความเรียงเรื่องนี้สำนวนโวหารลุ่มๆดอนๆ เช่น ก่อร่าง สร้างตัว ขับไล่ไสส่งมีสัมผัสสระ
          ๒.ถ้อยคำหรือข้อความ ที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตัว มีลักษณะเป็นความเปรียบหรืออุปมาอุปไมยถึงสิ่งต่างๆ ดังนี้ อุปมา คือสิ่งหรือข้อความที่ยกมาเปรียบสิ่งหนึ่งว่าเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง มักจะมีคำว่า เหมือน เปรียบเหมือนดุจดัง ส่วนอุปไมย คือ สิ่งหรือข้อความที่เปรียบเทียบกับสิ่งอื่นเพื่อให้เข้าใจแจ่มแจ้งใช้คู่กับอุปมา เช่น ขาวเหมือนสำลี เป็นการกล่าวเปรียบเทียบลักษณะของความขาวของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
          ๓.ถ้อยคำที่แสดงออกมา มีลักษณะเป็นคำคม คือ ถ้อยคำที่เป็นคารม หรือโวหารอันคมคายเป็นคำพูดที่ให้แง่คิด มีความหมายลึกซึ้งกินใจ เช่น มีวิชาเหมือนมีทรัพย์อยู่นับแสน (สุนทรภู่) หรือเป็นถ้อยคำพิเศษเฉพาะภาษาหนึ่งๆ เช่นสำนวนฝรั่ง สำนวนบาลี
          ๔.มีลักษณะเป็นบุคลาธิษฐาน คือ สำนวนที่นำคำกริยาที่ใช้สำหรับมนุษย์ไปใช้กับสัตว์หรือสิ่งไม่มีชีวิต ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีอารมณ์กิริยา ความรู้สึกนึกคิดเหมือนคน เช่น น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า กระต่ายตื่นตูม วัวลืมตีน
          ๕.ชั้นเชิงหรือท่วงทำนองในการแต่งหนังสือหรือคำ พูด เช่นสำนวนเจ้าพระยาพระคลัง(หล)สำนวนยาขอบและลักษณนามใช้เรียกข้อความหรือบทประพันธ์รายหนึ่งๆ  เช่น  อิเหนามีหลายสำนวน บทความ ๒ สำนวน
ตัวอย่าง
กินปูนร้อนท้อง
          สำนวนนี้มาจากตุ๊กแก ว่ากันว่า ตุ๊กแกที่กินปูน (ปูนแดงที่กินกับหมากพลู )มักจะทำอาการกระวนกระวาย ส่งเสียงร้องแกร็กๆ เหมือนอาการร้อนท้องหรือปวดท้อง
จึงนำเอามาเปรียบกันคนที่ทำพิรุธหรือทำอะไรไว้ไม่อยากให้ใครรู้แต่เผอิญมีใครไปแคะได้ หรือเรียบเคียงเข้าหน่อยทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้เจตนาเจาะจงแต่ตัวเอง ก็แสดงอาการเป็นเชิงเดือดร้อนออกมาให้เขารู้ สำนวนนี้มักพูดกันว่า    ตุ๊กแกกินปูนร้อนท้อง  “.

กบในกะลาครอบ
         หมายถึงผู้มีความรู้และประสบการณ์น้อย เหมือนกบที่ถูกกะลาครอบไว้ แต่สำคัญตนว่ามีความรู้มาก เพราะมองเห็นเพียงกะลาแคบๆ ใกล้ตัว ขาดโลกทัศน์ที่กว้างไกล พอโผล่ออกมาพ้นกะลาจึงรู้ว่า ยังมีสิ่งต่างๆ อีกมากมายเหลือคณานับ ที่จะต้องเรียนรู้และศึกษาเพิ่มเติม จนทำตนให้กลายเป็น กบนอกกะลาให้จงได้


สุภาษิต
       เป็นคำนาม หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความ ที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านาน แต่มีเนื้อความหรือความหมายที่ดี เป็นคำตักเตือนสั่งสอน  และสะกิดใจให้ระลึกถึงอยู่เสมอ มีอยู่ 2 ประเภท คือ
           ๑.คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่าน เข้าใจเนื้อความได้ทันที คือเป็นข้อความสั้นๆ กินความลึกซึ้ง มีความหมายเป็นคติคำสอนหรือหลักความจริง โดยไม่ต้องแปลความหมาย ตีความหมาย เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
           ๒.คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่าน หรือฟังแล้วยังไม่เข้าใจเนื้อความนั้นในทันที ต้องนึกตรึกตรอง ต้องแปลความ ตีความหมายเสียก่อนจึงจะทราบเนื้อแท้ของคำเหล่านั้น เช่น ผีบ้านไม่ดีผีป่าก็พลอย
           ดังนั้นคำว่า สำนวนที่ใช้ในที่นี้จึงหมายถึงเฉพาะถ้อยคำที่มีความหมายไม่ตรงตัวอักษร มีความหมายเป็นเชิงเปรียบเทียบ มีท่านผู้รู้ท่านหนึ่งกล่าวว่า สำนวนเป็นคำพูดชนิดหนึ่งซึ่งไม่ได้วางหลักวิชาหรือให้คติอย่าไร เช่น หนังหน้าไฟ ,เกลือจิ้มเกลือ,บอดได้แว่น,เรื่อล่มเมื่อจอด,อาภัพเหมือนปูน
ตัวอย่าง
จับปลาสองมือ   
         หมายถึง ผู้ที่ไม่ตัดสินใจให้แน่นอนว่าควรจะทำสิ่งใด เห็นไปว่าสิ่งโน้นก็ดี สิ่งนี้ก็ดี เลยทำหมดทุกอย่าง ทำให้ต้องแบ่งความคิด เวลา และกำลังกาย สำหรับงานเหล่านั้น เป็นเหตุให้งานแต่ละอย่างไม่ได้รับผลดีเท่าที่ควรจะได้ ในที่สุดเขาจะทำงานไม่ได้ดีเลยแม้แต่สักอย่างเดียว

ดินพอกหางหมู 
          หมายถึง การทำสิ่งใดก็ตาม ถ้ามัวแต่ผัดวันประกันพรุ่ง เพราะความเกียจคร้าน ไม่ทำให้สำเร็จโดยเร็ว ปล่อยให้คั่งค้างทับถมมากเข้า งานจะเพิ่มพูนมากขึ้นทุกที ทำเท่าไรไม่มีเสร็จ หรือหมายถึง หนี้สินไปก่อขึ้นไว้ทีละเล็กละน้อยจนมากมาย ก็เรียกว่าเป็นดินพอกหางหมูเหมือนกัน



คำพังเพย
          เป็นคำนาน หมายถึง  ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นมาเป็นความหมายกลาง ๆ คือ ไม่เน้นการสั่งสอน แต่ก็แฝงคติเตือนใจหรือ ข้อคิดสะกิดใจให้นำไปปฏิบัติได้ และ เนื้อหาของใจความนั้นก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความดี หรือ ความจริงแท้แน่นอน  เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง มีความหมายลึกซึ้งกว่าสำนวน มีลักษณติชมหรือแสดงความเห็นในตัว แต่ยังไม่ได้วางหลักความจริงอันเที่ยงแท้ และยังไม่เป็นคำสอน เช่น กระต่ายตื่นตูม,ทำนาบนหลังคน ,ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น,เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย,น้ำถึงไหน ปลาถึงนั้น เป็นต้น

ตัวอย่าง
ปากปราศรัยใส (น้ำใจ) เชือดคอ
พูดดีแต่ปาก แต่ใจคิดร้าย

รู้อย่างเป็ด
ไม่ควรรู้อะไรหลาย ๆ อย่าง แต่ไม่รู้จริงสักอย่าง

ข้างนอกสุกใส ข้างในเป็นโพรง
ข้างนอกอาจจะดูดี มีค่า แต่ข้างในหรือตามความเป็นจริงแล้ว มิได้ดีตามที่เห็น

น้ำกลิ้งบนใบบอน
ใจโลเล ใจไม่แน่นอน เปลี่ยนไปอยู่เรื่อย ๆ